Click Like ถ้าชอบบล๊อกไซต์นี้

Click Like ถ้าชอบบล๊อกไซต์นี้

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อุ้มบุญ (Surrogacy)

การอุ้มบุญ (Surrogacy)PDFพิมพ์อีเมล์

การอุ้มบุญ คือ การเลียนแบบแม่กา ฟักไข่ให้นกกาเหว่า เพราะบุตรในครรภ์ของเธอนั้น ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของเธอ ไม่ใช่ไข่ของเธอ บุตรที่เกิดมาไม่มีดีเอ็นเอของผู้ตั้งครรภ์

นักวิทยาศาสตร์ (อาจจะเป็นหมอ หรือนักพันธุวิศวกรรม) จะเอาไข่ของมารดามาผสมกับ sperm ของบิดา ในจานทดลองโดยใช้เทคนิควิธี vitro fertilisation (IVF - ผสมพันธุ์นอกร่างกาย) พอไข่เกิดการแบ่งตัวและกลายเป็นตัวอ่อน ก็ย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังในครรภ์ของพรหมจารีผู้ประสงค์จะ "อุ้มบุญ" ซึ่งเรียกการอุ้มครรภ์โดยพรหมจารี แบบนี้ว่า Host Surrogacy หรือ Gestational Surrogacy

ดินแดนแห่งการอุ้มบุญ หากผู้อ่านปรารถนาจะไปเยือนให้ประจักษ์แก่สายตา คือ บังกะลอร์ ประเทศอินเดีย (หากไม่อยากเสียสตางค์ไปไกลถึงต่างประเทศ ลองเสาะหาบางจังหวัดทางภาคเหนือของไทย )

การอุ้มบุญ กลายเป็นธุรกิจทำรายได้มากกว่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐในอินเดีย การท่องเที่ยวเพื่อฝากให้กำเนิดบุตร (Reproductive tourism) เติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวภายในสามปีที่ผ่านมา หญิงสาวที่รับอุ้มบุญส่วนมาก มาจากครอบครัวชนชั้นกลางล่าง การตั้งครรภ์ 9 เดือนจะได้รับเงิน สองพันห้าร้อยเหรียญสหรัฐ (ประมาณหนึ่งแสนบาท) ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเมื่อเปรียบเทียบจากรายได้ต่อหัวปีละ 500 เหรียญสหรัฐ และประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 40 บาทต่อวัน (India's new outsourcing business - wombs โดย Sudha Ramachandran)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม