Click Like ถ้าชอบบล๊อกไซต์นี้

Click Like ถ้าชอบบล๊อกไซต์นี้

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เด็กหลอดแก้ว IVF & ET

เด็กหลอดแก้ว IVF & ET

เด็กหลอดแก้ว IVF & ET

เด็กหลอดแก้ว เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยการนำไข่และอสุจิมาผสมกันภายนอก (ในจานแก้ว ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า เด็กหลอดแก้วซึ่งจริง ๆ แล้ว น่าจะเรียกเด็กจานแก้วมากกว่า) จนเจริญเป็นตัวอ่อนแล้วจึงย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก หรือ In Vitro Fertilization & Embryo Transfer, IVF & ET)

ข้อบ่งชี้ในการทำเด็กหลอดแก้ว

1. ในฝ่ายหญิงที่ไม่มีท่อนำไข่ เช่น ถูกตัดทิ้งเนื่องจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือท่อนำไข่ถูกทำลายไปมาก

2. ฝ่ายหญิงมีภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิในมูกปากมดลูกหรือในกระแสโลหิต

3. ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และรักษาภาวะนี้แล้วด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

4. ฝ่ายหญิงมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก และรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล

5. ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่าปกติมากหรือมีการเคลื่อนไหวช้า ซึ่งรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

6. คู่สมรสมีบุตรยากมานานกว่า 2 ปี หรือมากกว่า โดยหาสาเหตุแล้วไม่พบความผิดปกติ

ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว

1. ใช้ยาเพื่อกระตุ้นให้มีการเจริญของไข่ครั้งละหลาย ๆ ใบ

2. ติดตามการเจริญของไข่โดยการเจาะเลือด วัดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูจำนวนและขนาดของไข่ในรังไข่

3. เมื่อไข่เจริญได้ขนาดตามต้องการแล้ว จะฉีดยาให้ไข่สุก

4. ทำการเก็บไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางผนังช่องคลอด ภายใต้การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงภายหลังจากฉีดยาให้ไข่สุก ประมาณ 34-36 ชั่วโมง

5. หลังการเก็บไข่ ให้ฝ่ายชายเอาน้ำอสุจิออกแล้วเตรียมอสุจิโดยการปั่นล้างด้วยน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน

6. นำตัวอสุจิผสมกับไข่แล้วทิ้งไว้ในตู้เลี้ยงตัวอ่อน

7. ติดตามดูการผสมของไข่กับอสุจิใน 16 – 18 ชั่วโมงต่อมา

8. วันถัดมา (48 – 72 ชั่วโมงหลังเก็บไข่) ตัวอ่อนจะมีการแบ่งเซลล์ เป็น 2-4 เซลล์ และพร้อมที่จะนำกลับไปใส่คืนสู่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการฝังตัว

9. หลังจากที่มีการย้ายตัวอ่อนแล้ว จะมีการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน

10. จะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 2 สัปดาห์หลังย้ายตัวอ่อน

อัตราการประสบความสำเร็จ

ในแต่ละรอบเดือนที่มีการเก็บไข่ และย้ายตัวอ่อน จะมีอัตราการตั้งครรภ์ประมาณ 25-40 % ทั้งนี้ขึ้นกับอายุของฝ่ายหญิงด้วย

การตั้งครรภ์จากเด็กหลอดแก้วจะปกติหรือไม่

ผู้ที่ตั้งครรภ์จากการรักษาวิธีนี้ จะมีโอกาสแท้งบุตรประมาณร้อยละ 15-20 จากข้อมูลจนถึงปัจจุบัน ทารกที่เกิดมาจะมีโอกาสเกิดความพิการไม่แตกต่างจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กก็เป็นปกติ

บทความเพื่อสุขภาพ -> รายละเอียด

(เด็กหลอดแก้ว (IVF and Blastocyst culture))

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากที่ให้ผลสำเร็จสูงสุด คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ร่วมกับการใส่ตัวอ่อนกลับ ในระยะ blastocyst ( 5 วันหลังการปฏิสนธิ)

การทำ IVF แบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1. ให้ยาฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่
เพื่อให้รังไข่ผลิตไข่หลาย ๆ ใบโดยให้ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนทุกวัน เป็นเวลา 10-14 วันโดยแพทย์จะนัดตรวจขนาดและจำนวนของไข่ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ร่วมกับวัดระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นระยะ ๆ ระหว่างการฉีดยากระตุ้น

2. การเก็บไข่
เมื่อไข่มีขนาดตามที่ต้องการ แพทย์จะให้ฮอร์โมนเพื่อให้ไข่สุกและเจริญสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นอีก 36 ชั่วโมง แพทย์จะนัดเจาะดูดไข่ออกในห้องผ่าตัดโดยการใช้เข็มเจาะผ่านทางช่องคลอดซึ่งจะไม่มีแผลผ่าตัดใด ๆ

3. สามีเก็บเชื้ออสุจิ
เมื่อเก็บไข่ได้แล้ว สามีต้องเก็บเชื้ออสุจิเพื่อใช้ผสมกับไข่ในห้องปฏิบัติการในวันเดียวกัน

4. การเลี้ยงตัวอ่อน
ห้องปฏิบัติการจะตรวจหาจำนวนไข่ที่สามารถถูกผสมโดยเชื้ออสุจิในวันต่อมา พร้อมกับเลี้ยงตัวอ่อนที่ผสมแล้ว จนถึงระยะ Blastocyst (ใช้เวลา 5 วัน) จึงใส่ตัวอ่อนกลับ ระหว่างนี้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะตรวจสภาพตัวอ่อนเพื่อดูการเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ

5. การใส่ตัวอ่อนกลับ
แพทย์จะนัดใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูก (ทางช่องคลอด) ภายใน 3-5 วัน หลังจากเก็บไข่ขึ้นกับคุณภาพของตัวอ่อน ถ้าตัวอ่อนดีมากจะใส่กลับในวันที่ 5 ซึ่งเป็นระยะ Blastocyst ซึ่งจะมีโอกาสตั้งครรภ์สูง

6. ให้ฮอร์โมน Progesterone
เพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้มีสภาพเหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อนและป้องกันการแท้งบุตร แพทย์จะให้ฮอร์โมนทุกวันตั้งแต่เจาะเก็บไข่ จนกระทั่งถึงวันตรวจการตั้งครรภ์ ถ้าการตั้งครรภ์เป็นบวก อาจให้ต่อจนกระทั่งตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแท้งบุตร

7. การตรวจตั้งครรภ์
หลังจากใส่ตัวอ่อนกลับ 2 สัปดาห์ แพทย์จะตรวจการตั้งครรภ์ โดยการเจาะเลือด

8. ติดตามคุณภาพการตั้งครรภ์
หลังจากตั้งครรภ์ แพทย์จะนัดตรวจครรภ์ในอีก 2-3 สัปดาห์ เพื่อดูความสมบูรณ์ของการตั้งครรภ์ โดยใช้เครื่องอุลตร้าซาวด์พร้อมกับตรวจหาความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์แฝด หรือ ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก

เมื่อไรควรทำ IVF และ Blastocyst culture

1. มีการอุดตันท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง

2. สตรีที่ทำหมันแล้ว และต้องการมีบุตร

3. สตรีที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก ๆ เช่น Endometriosis

4. คุณภาพของเชื้ออสุจิผิดปกติมาก ๆ

5. รักษาด้วยการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI) หลายครั้งแล้วไม่ได้ผล

ความสำเร็จของการตั้งครรภ์จาก การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ Blastocyst

ตัวอ่อนที่สามารถเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนถึงระยะ Blastocyst นับว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของการรักษาภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากตัวอ่อนระยะ Blastocyst จะสามารถฝังตัวได้ทันที เมื่ออยู๋ในโพรงมดลูก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นถึง 40-50 %

โรงพยาบาลสมิติเวช ได้เปิดให้บริการทำเด็กหลอดแก้ว มานานกว่า 10 ปี ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์

เด็กหลอดแก้ว
In Vitro Fertilization - Embryo Transfer


การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นวิธีการรักษาผู้มีบุตรยากที่เก่าแก่และทำกันมากที่สุดในโลก สำเร็จครั้งแรกในโลกเมื่อปี ค.ศ. 1978 ที่ประเทศอังกฤษ และถือว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ ของวิทยาการที่ก้าวหน้าในการรักษาคนที่มีบุตรยากในปัจจุบัน และเป็นแม่แบบของการรักษาทุกวิธีที่มีในปัจจุบันรวมไปถึงอนาคตด้วย


หลักการของเด็กหลอดแก้ว คือ การนำไข่และตัวสเปอร์มออกมาพบกัน เพื่อเกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย

ทำไมต้องปฏิสนธินอกร่างกาย

ก็เพราะมีความผิดปกติบางอย่างที่ขัดขวางหรือไม่เหมาะสมต่อการปฏิสนธิกัน แบบธรรมชาติภายในร่างกาย เช่น
- ท่อนำไข่อุดตัน หรือถูกตัดไป
- เยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน
- เชื้ออสุจน้อย หรือไม่แข็งแรง
- ในรายที่หาสาเหตุไม่พบ

ขั้นตอนเป็นอย่างไรบ้าง

1) ให้ยาฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นให้ไข่สุกหลาย ฟอง
2) ตรวจสอบและควบคุมการตอบสนองของรังไข่ให้เหมาะสม เพื่อปรับขนาดยาให้ถูกต้อง
3) ดูดเก็บไข่ ซึ่งใช้เวลา 10 - 30 นาที โดยใช้ยาชาหรือยาระงับความรู้สึก
4) เก็บคัดเชื้ออสุจิในวันเดียวกับที่ดูดเก็บไข่
5) ทำการปฏิสนธิของไข่กับสเปอร์มในห้องปฏิบัติการ นานประมาณ 48 - 72 ชั่วโมง
6) การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อรอการฝังตัว
7) ตรวจสอบผลการตั้งครรภ์ ประมาณ 10-14 วัน หลังการใส่ตัวอ่อน

รายงานความสำเร็จอยู่ที่ ประมาณ 15 - 30 เปอร์เซ็นต์ ต่อการทำเด็กหลอดแก้วหนึ่งครั้ง

การทำอิ๊กซี่
IntraCytoplasmic Sperm Injection

การทำอิ๊กซี่ คือ การฉีดตัวอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่ โดยไม่รอให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง ทำให้ช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิ ส่วนขั้นตอนอื่นเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว การทำดังกล่าวต้องทำผ่านเครื่องมือพิเศษที่ประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ และเข็มขนาดเล็กมาก เพื่อจับไข่และฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่ ด้วยการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนนุ่มนวลมาก เป็นวิธีที่เลือกใช้ในรายที่

เชื้ออสุจิฝ่ายชายคุณภาพไม่ดีอย่างมาก
ไข่กับเชื้ออสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้ในหลอดทดลอง
เช่น เปลือกไข่หนาเหนียวในสตรีอายุมาก

โอกาสตั้งครรภ์ต่อการทำ 1 ครั้ง ประมาณร้อยละ 25 - 30

ในบางกรณีที่ฝ่ายชายไม่มีตัวอสุจิออกมาในน้ำเชื้อจากการหลั่งเอง เช่น ทำหมันชาย หรือการไม่มีตัวอสุจิจากสาเหตุต่าง ๆ เราอาจนำเอาตัวอสุจิออกมาใช้ในขบวนการอิ๊กซี่ได้ โดยวิธีการต่อไปนี้

PESA : Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration
คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา

MESA : Microsurgical Epididymal Sperm Aspiration
คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา

TESA : Testicular Epididymal Sperm Aspiration
คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา

TESE : Testicular Epididymal Sperm Extraction
คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกบางส่วนแล้วแยกตัวอสุจิที่ค้างอยู่ในเนื้ออัณฑะ ออกมา

ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสนับสนุน คือ การปฏิสนธินอกร่างกาย และเลี้ยงตัวอ่อนได้ดี (In Vitro Fertilization) รวมทั้งความชำนาญในการจับและฉีดอสุจิเข้าเซลล์ไข่ (ICSI) ได้ดี และหวังผลได้

กิฟท์
Gamate Intrafallopian Transfer


กิฟท์แตกต่างจาก
เด็กหลอดแก้ว ตรงที่ว่าไข่และสเปอร์มที่เก็บได้มานั้น เราจะนำมาผสมกันแล้วนำใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ในทันที โดยที่ไม่รอให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายเลย ซึ่งเป็นวิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

การปฏิสนธิจะเกิดขึ้น ที่ตำแหน่งปฏิสนธิปกติของธรรมชาติ คือที่กึ่งกลางของท่อนำไข่นั่นเอง

ดังนั้นกิฟท์จะเหมาะสมกับเฉพาะรายที่ไม่มีปัญหาของท่อนำไข่อุดตัน

ใครบ้างที่ควรจะทำกิฟท์

รายที่ท่อนำไข่ปกติอย่างน้อยหนึ่งข้าง แต่
- มีพังผืด ขัดขวางการเดินทางของเซลล์ไข่ที่จะเข้าสู่ท่อนำไข่ส่วนปลาย
- มีเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่
- เชื้ออสุจิอ่อนแอไม่มากนัก
- ในรายที่หาสาเหตุไม่พบ

ความสำเร็จอยู่ในเกณฑ์สูง ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ต่อการทำแต่ละครั้ง

ซิฟท์
Zygote Intra-Fallopain Transfer


เพื่อแก้ไขปัญหาความผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้ไข่และอสุจิไม่พบกันเองได้ตามธรรมชาติ เช่น ท่อนำไข่ทำงานไม่ปกติ มีพังผืดมาก เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ เชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ หรือในรายที่หาสาเหตุไม่พบ

ขั้นตอนการทำซิฟท์

1) กระตุ้นและควบคุมการสุกของไข่ ควรได้อย่างน้อย 3 - 4 เซลล์
2) ดูดเก็บไข่
3) ควบคุมดูแลการปฏิสนธิของไข่กับสเปอร์มในห้องปฏิบัติการ นานประมาณ
48 - 72 ชม.
4) ย้ายตัวอ่อน(ระยะต่าง ๆ) เข้าไปในท่อนำไขเพื่อรอการฝังตัว

ข้อดี

- แน่ใจว่ามีการปฏิสนธิเกิดขึ้นแล้ว ก่อนการใส่ไปในท่อนำไข่
- ผลสำเร็จสูงกว่าทุกวิธี

ข้อจำกัด

- จะต้องแน่ใจว่ามีท่อนำไข่ปกติ อย่างน้อยหนึ่งข้าง
- ต้องมีแผลเล็ก ๆ 2 - 3 จุด ที่บริเวณขอบสะดือและหน้าท้อง เพราะต้องใช้กล้องส่อง
- ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องทำทั้งเด็กหลอดแก้ว และส่องกล้องเพื่อย้ายตัวอ่อน

ความสำเร็จอยู่ในเกณฑ์สูง ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ต่อครั้ง

การให้ยากระตุ้น


โดยธรรมชาติของผู้หญิงเราที่ยังมีประจำเดือนอยู่ทุกเดือนก็ตาม พบว่ามักจะมีไข่ตกเพียงเดือนละหนึ่งฟองเท่านั้น ทั้งนี้ยังไม่นับพวกที่ไม่มาทุกเดือน บางคนกลายเป็นพวกประจำสองสามหรือหกเดือนก็มี ในที่นี้จะยังไม่พูดถึงสาเหตุของพวกหลังนี้

เพราะฉะนั้นถ้าเราให้ยากิน หรือยาฉีดฮอร์โมน ก็จะสามารถทำให้ไข่สุกและตกได้ค่อนข้างแน่นอน และมักจะสุกมากกว่าหนึ่งฟอง ขึ้นอยู่กับความแรงของยาที่ให้ ดังนั้นโอกาสตั้งครรภ์ย่อมรวดเร็วขึ้นแน่นอนเช่นกัน ถ้าคุณไม่มีปัญหาอย่างอื่นร่วมด้วย

แต่อย่าประมาท เพราะโอกาสจะมีลูกแฝดสอง แฝดสาม แฝดสี่ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นคุณต้องได้รับการบริหารยาและการตรวจจากแพทย์ ในระหว่างที่ใช้ยาเหล่านี้ด้วย

รายงานความสำเร็จอยู่ที่ ประมาณ 15 - 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อรอบเดือน

กระบวนการช่วยให้ตั้งครรภ์


ไม่ใช่วิธีแรกที่คุณจำเป็นต้องการรักษา ถ้าคุณ.....
- ยังไม่เคยกำหนดเวลาร่วมเพศ ในช่วงเวลาตกไข่
- มีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่คุมกำเนิดยังไม่ถึงหนึ่งปี
- ไม่เคยตรวจสอบหาสาเหตุของการมีบุตรยาก

แต่ถ้าคุณอยู่ในข่ายที่ต้องการรักษาด้วยว่า สาเหตุใดก็ตาม คุณควรจะรู้แล้วละว่า มีวิธีอะไรบ้าง??
- กระตุ้นไข่ให้สุกและไข่ตกอย่างสมบูรณ์
- การฉีดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูก
- การทำกิฟท์
- การทำเด็กหลอดแก้ว
- การทำซิฟท์
- การทำอิ๊กซี่
- การรับบริจาคไข่ และ/หรือเชื้ออสุจิ
- การทำอุ้มบุญ
- การแช่แข็งตัวอ่อน และ/หรือเชื้ออสุจิ

เด็กหลอดแก้ว

1. เด็กหลอดแก้วคืออะไร ? ทำไมจึงเรียกเด็กหลอดแก้ว
คนทั่วไปมักไม่รู้หรือเข้าใจผิดว่าการทำ "เด็กหลอดแก้ว" หมายถึง การการก่อให้เกิดตัวอ่อนมนุษย์และเลี้ยงอยู่ภายในหลอดแก้ว จนโตเป็นเด็ก ตัวเล็กๆ จากนั้นจึงนำมาเลี้ยงต่อ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ในตู้อบ จนกลายเป็นทารกที่น่ารัก เหมือนกับที่คลอดออกมาตามธรรมชาติ ความจริงเป็นความเข้าใจผิด เพราะเราไม่สามารถเลี้ยงเด็กในหลอดแก้วจริงๆ ได้ เราเลี้ยงได้ เฉพาะ "ตัวอ่อน" ของมนุษย์ในระยะ 2-3 วันแรกเท่านั้น จากนั้นต้องรีบนำกลับเข้าสู่ร่างกายสตรี มิฉะนั้น "ตัวอ่อน" จะตาย
การทำ "เด็กหลอดแก้ว" ในภาษาไทยนั้น ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "IVF" (In Vitro Fertiliztion) หมายความว่า การช่วยเหลือให้เกิดการปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิ ภายนอกร่างกายในหลอดแก้วทดลองภายใต้สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิคล้ายกับภายในร่างกาย เมื่อได้ "ตัวอ่อน" ที่สมบูรณ์ ในขนาดที่เหมาะสม ก็นำกลับเข้าสู่ภายในร่างกายของสตรีผู้นั้น เพื่อให้ฝังตัวและเจริญเติบโตเป็นทารกภายในโพรงมด ลูกต่อไป
2. เด็กหลอดแก้ว มีความเหมือน หรือแตกต่างจากการผสมเทียมอย่างไร ?
แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะการผสมเทียม (Articial Insemination) หมายถึง การฉีด "เชื้ออสุจิ" เข้าไปในช่องคลอดหรือมดลูก โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยเหลือ จะมีการปฏิสนธิหรือไม่ ยังไม่ทราบ และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิสนธิภายในร่างกาย
แต่การทำ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นการนำเอา "ไข่" ของสตรีออกมาภายนอกร่างกายแล้วมาผสมกับ "เชื้ออสุจิ" ในหลอดแก้วทดลอง เพื่อให้มีการปฏิสนธิภายนอก ภายใต้บรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่จัดให้เหมาะสม แก่การดำรงชีวิต ของ "ตัวอ่อน" ได้
3. ในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" มีขั้นตอนหรือกรรมวิธีอย่างไร ?
ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว
ขั้นตอนที่ 1
n "การกระตุ้นไข่" โดยใช้ยาหรือฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้น เพื่อให้ได้ไข่จำนวนมากๆ
ขั้นตอนที่ 2 "การเก็บไข่"
n โดยใช้เข็มยาวที่ทำขึ้นมาเฉพาะ เจาะเก็บไข่ทางหน้าท่องหรือทางช่องคลอด แต่ส่วนใหญ่เจาะเก็บไข่ ผ่านทางช่องคลอด เพราะสามารถมองเห็นไข่ได้โดยตรง จากการใช้อัลตราซาวนด์ช่วยทำให้เจาะเก็บไข่ได้จำนวนมาก
ขั้นตอนที่ 3
n การเตรียม "เชื้ออสุจิ" เป็นการ "คัดเชื้อ" เพื่อให้ได้ตัว "เชื้ออสุจิ" ที่มีคุณสมบัติดีพบที่จะปฏิสนธิกับไข่โดยใช้ "ตัวอสุจิ" ขนาดความเข้มข้นประมาณ 100,000 ตัวต่อไข่ 1 ใบ
การเก็บเชื้ออสุจิ โดยปกติจะใช้วิธีให้ช่วยตัวเอง (masturbation) ไม่ควรใช้วิธีร่วมเพศก่อนแล้วมาหลั่งภายนอก หรือใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากสารหล่อลื่นภายในถุงยาง จะทำลายตัวอสุจิได้
ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง
n "ตัวอ่อน" เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด ในกระบวนการทำ "เด็กหลอดแก้ว"
ภายหลังจากที่ได้ไข่มาแล้ว ก็จะนำมาเลี้ยงในหลอดแก้วทดลอง ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-6 ชั่วโมง จากนั้นจึงทำการใส่ "เชื้ออสุจิ" ที่ผ่านการคัดเชื้อแล้วลงไป เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 18 ชั่วโมง ก็มาตรวจดูว่า มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นหรือยัง
ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็อาจใส่เชื้ออสุจิอีกเป็นครั้งที่สอง หรือเฝ้าสังเกตการณ์ต่อไป
ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็ต้องตรวจดูว่า มีการปฏิสนธิที่ผิดปกติหรือไม่ หากมีก็คัด "ตัวอ่อน" นั้นทิ้งไป เหลือไว้ แต่ "ตัวอ่อน" ที่ปกติเท่านั้น
ในวันที่สอง (ประมาณ 48-50 ชั่วโมงภายหลังจากเจาะไข่ออกมา) "ตัวอ่อน" แต่ละตัวอยู่ระหว่าง 2-8 เซลล์ "ตัวอ่อน" แต่ละตัว จะมีความสมบูรณ์ไม่เท่ากัน เราจัดลำดับความสมบูรณ์ของตัวอ่อน ออกเป็นเกรด 1(A), 2(B), 3(C), 4(D) เกรด 1 ดีที่สุด เกรด 2 ดีรองลงมา ควรจะนำ "ตัวอ่อน" เฉพาะเกรด 1 และ 2 เท่านั้น ใส่กลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้สตรีส่วน "ตัว-อ่อน" เกรด 3 และ 4 จะนำมาใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 5 การนำ "ตัวอ่อน"
n กลับเข้าสู่ร่างกาย เราสามารถนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ ทางปากมดลูก หรือทางปีกมดลูก
ขั้นตอนที่ 6 การแช่แข็ง "ตัวอ่อน"
n ตัวอ่อนของมนุษย์ที่เหลือจากการใส่กลับเข้าสู่ร่างกายเรา จะนำมา แช่แข็งที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส "ตัวอ่อน" จะหยุดการเจริญเติบโต แต่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานเป็นปีทีเดียว เมื่อไรจำเป็นต้อง ใช้ก็เพียงแต่ละลายกลับมาสู่อุณหภูมิปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" แต่ละครั้งมีจำกัด หรือไม่ว่าจะต้องใช้ไข่กี่ฟอง ?
เราไม่จำเป็นต้องจำกัดการใช้ "ไข่" เพราะเราจะนำไข่ทั้งหมด ที่เจาะได้มาหยอด "เชื้ออสุจิ" เพื่อให้เกิดเห็น "ตัวอ่อน " มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เราจำกัด "ตัวอ่อน" มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เราจำกัด "ตัวอ่อน" ที่จะนำกลับเข้า สู่ร่างกายไม่ให้เกิน 4 ตัวอ่อน เพื่อไม่ให้เกิดแฝดจำนวนมาก ส่วน "ตัวอ่อน" ี่เหลือจะแช่แข็งไว้ใช้ต่อไปในอนาคต
5. มีอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิเท่าไร ?
การปฏิสนธิโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง เช่น ความสมบูรณ์ ของ "ไข่" และ "เชื้ออสุจิ" ประสิทธิภาพของ ห้องปฏิบัติการรวมถึงความ ชำนาญของผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงตัวอ่อน
อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ศึกษาไว้ดังนี้
จำนวนของ "ไข่" ที่หยอด "เชื้ออสุจิ" ทั้งหมด 1,364 คิดเป็นร้อยละ 100
จำนวนของ "ไข่" ที่มีการปฏิสนธิปกติเท่ากับ 738 คิดเป็นร้อยละ 54.1
จำนวนของ "ไข่" ที่ไม่มีการปฏิสนธิเท่ากับ 486 คิดเป็นร้อยละ 35.6
จำนวนของ "ไข่" ที่มีการปฏิสนธิในเวลาที่เนิ่นนานออกไป
จากปกติเท่ากับ 54 คิดเป็นร้อยละ 4.0
จำนวนของ "ไข่" ที่บริเวณเปลือกนอก ได้แตกออกเท่ากับ 39 คิดเป็นร้อยละ 2.9
จำนวนของ "ไข่" ที่สลายหรือภายในมีฟองอากาศเท่ากับ 12 คิดเป็นร้อยละ 0.9
จำนวนของ "ไข่" ที่ยังไม่สุกพอที่จะสามารถปฏิสนธิ
ได้เท่ากับ 10 คิดเป็นร้อยละ 0.8
ในบางสถาบันเมื่อพบ "ไข่" ไม่มีการปฏิสนธิในเวลา 12-24 ชั่วโมง ก็ทำการหยอด "เชื้ออสุจิ" ลงไป อีกเป็นครั้งที่สอง แต่มักไม่ค่อยได้ผล ยกเว้นในกรณี "เชื้ออสุจิ" ของสามีไม่ดีในการหยอดครั้งแรกเมื่อหยอด "เชื้ออสุจิ" บริจาค ของชายอื่นลงไปเป็นครั้งที่สองมักจะให้ผลดีพอสมควร
6. ในการนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกาย จะต้องใช้ "ตัวอ่อนจำนวนเท่าไร ?
ปกติใช้ 3 ตัวอ่อน สูงสุดไม่เกิด 4 ตัวอ่อน ไม่ว่าจะเป็นการใส่กลับเข้าดำเนินการทางปีกมดลูก หรือทางปากมดลูก
7. หลังจาก "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกาย ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?
กรณีที่นำ "ตัวอ่อน" ใส่กลับเข้าทางปากมดลูก หลังจากนอนพักหลังหยอด "ตัวอ่อน" แล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ แต่สมควรนอกพักต่อที่บ้านอีกประมาณ 12-24 ชั่วโมง หลังจากนั้น จึงสามารถทำงานเบาๆ ได้ ไม่ควรทำงานหนักหรืองานที่ต้องใช้การเกร็ง หน้าท้อง และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้
ในกรณีที่นำ "ตัวอ่อน" ใส่กลับเข้าสู่ร่างกายทางปีกมดลูก (ZIFT) ผู้ป่วยจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน เมื่อกลับบ้านยังควรพักผ่อนต่ออีกไม่ต่ำกว่า 3-4 วัน
8. ต้องใช้เวลานานเท่าไร ? จึงจะทราบว่าตั้งครรภ์
ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากจบกระบวนการทำ "เด็กหลอดแก้ว" โดยการเจาะเลือดตรวจ การตั้งครรภ์ที่แน่ใจว่า ไม่น่าจะแท้ง ก็คือเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ทำการอัลตรา-ชาวนด์ ทางช่องคลอดพบว่ามีการเต้นของ หัวใจทารก
9. "ตัวอ่อน" ที่ใส่เข้าไปในร่างกายสัตว์จะรอดเป็นทารก ทุกตัวอ่อนหรือไม่ มีอัตราการรอดเป็นอย่างไร ?
ในทางการแพทย์ การรอดชีวิตของ "ตัวอ่อน" เท่าไรนั้น วัดได้จาก เมื่อเราหยอด "ตัวอ่อน" ลงไปจำนวนเท่าไร แล้วเหลือรอดชีวิตมาฝังตัวได้กี่ตัวอ่อน เราเรียกอัตราการรอดชีวิต ของ "ตัวอ่อน" นี้ว่า "อัตราการฝังตัว" (Implantation Rate) โดยปกติจะพบประมาณร้อย ละ 20 (หากใส่ "ตัวอ่อน" เข้าไป 100 ตัวอ่อน จะฝังตัวได้ 20 ตัวอ่อน) ไม่ว่าจะเป็นการหยอด "ตัวอ่อน" ทางปากมดลูกหรือปีกมดลูก
ถึงแม้จะฝังตัวได้ แต่จะมีส่วนหนึ่งที่แท้งออกมา คิดเป็นร้อยละ 25 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้นการรอดชีวิตของ "ตัวอ่อน" จึง มีไม่มากนักโดยเฉพาะในสตรีที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
10. "ตัวอ่อน" ที่ใส่เข้าไปมีโอกาสเป็นแฝดหรือไม่ ? และจะเป็นแฝดแท้หรือไม่แท้
มีโอกาสเกิดเป็นแฝดสองร้อยละ 21 แฝดสามร้อยละ 4.5 และแฝดสี่ร้อยละ 0.2 ส่วนใหญ่แฝดที่เกิดจากกระบวนการทำ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นแฝดไม่แท้หรือพูดง่ายๆ คือ แฝดจากไข่คนละใบ หน้าตาจึงไม่เหมือนกันทีเดียวแต่จะคล้ายกับเป็นพี่น้องกันมากกว่า
11. อัตราความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" เท่ากับเท่าไร ?
ความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" วัดได้จากอัตราการตั้งครรภ์ อัตราการตั้งครรภ์ในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" จากการหยอด "ตัว อ่อน" ทางปากมดลูก เท่ากับร้อยละ 10-20 และจากการหยอด "ตัวอ่อน" ทางปีกมดลูก (ZIFT) เท่ากับร้อยละ 30-40
12. ต้องเสียค่าใช้จ่ายการทำ "เด็กหลอดแก้ว" ครั้งละประมาณเท่าไร ?
ประมาณ 50,000 - 100,000 บาท แล้วแต่สถาบัน
13. อุปสรรคในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" คืออะไร ?
อุปสรรคในที่นี้หมายถึง ข้อจำกัดหรือสิ่งที่ขัดขวาง การไปสู่ความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" อันนี้ขึ้นอยู่กับ
1. ความพร้อมของคู่สามีภรรยาที่มารักษา ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือสุขภาพ ยกตัวอย่างอุปสรรค ทางด้านสุขภาพ ได้แก่
· ภรรยา มีปัญหาความผิดปกติทางสภาพร่างกาย เช่น รังไข่ไม่ทำงานหรือไม่ผลิตไข่ มดลูกมีเนื้องอกขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะทำ "เด็กหลอดแก้ว"
สามี
· มีปัญหาด้านความสมบูรณ์ของ "เชื้ออสุจิ" ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่น้อยเกินไป หรือการเคลื่อนไหว ที่บกพร่องอย่างมาก แต่ปัจจุบันสามารถแก้ไขได้ง่ายด้วยวิธี เจาะไข่ใส่ "เชื้ออสุจิ" เข้าไป (ICST "อิ๊กซี่")
2. ความพร้อมของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ห้องปฏิบัติการจะต้องทันสมัย เครื่องมีพร้อมมูล สะอาด บุคลากรต้องมีความรู้ความชำนาญ โดยเฉพาะแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยง "ตัวอ่อน" (Embryologist)
14. คนไข้ส่วนใหญ่ต้องทำกี่ครั้ง ? จึงจะประสบผลสำเร็จ มีหรือไม่ที่ไม่ประสบความสำเร็จเลย
จะทำกี่ครั้งจึงประสบความสำเร็จนั้นคงตอบยาก ขั้นอยู่กับสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของคู่สมรสที่มารักษา
โดยปกติการทำ "เด็กหลอดแก้ว" แล้วหยอดตัวอ่อนทางปากมดลูก (กรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถใส่เข้าทางปีกมดลูกได้) มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 10-20 หมายความว่า ดำเนินการประมาณ 5 ครั้ง ประสบความสำเร็จ 1 ครั้ง
สำหรับการดำเนินการหยอด "ตัวอ่อน" ทางปีกมดลูก (ZIFT) จะมีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 30-40 หมายถึง ดำเนินการ 3 ครั้ง มีโอกาสประสบความสำเร็จ 1 ครั้ง
แต่จะมีคนไข้จำนวนหนึ่งที่ไม่ว่าจะดำเนินการกี่ครั้ง ก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่คนไข้ควรขวนขวาย หาความรู้เพื่อมาประกอบการตัดสินใจ ส่วนแพทย์ผู้รักษา ก็ควรจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพยาธิสภาพและการพยากรณ์โรคแก่คนไข้อย่าง ตรงไปตรงมามากที่สุดเท่าที่จะทำได้
15. การทำ "เด็กหลอดแก้ว" กับการทำ "กิ๊ฟ" เหมือนกันหรือเปล่า
ไม่เหมือนกัน เพราะการทำ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นจึง นำกลับเข้าสู่ร่างกายแต่การทำ "กิ๊ฟ" เป็นกระบวนการนำเอา "เชื้ออสุจิ" และ "ไข่" เข้าไปใส่ไว้ในปีกมดลูก เพื่อให้มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
การทำเด็กหลอดแก้วก็เป็น ทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ คนเป็นพ่อเป็นแม่สมหวัง หลังจากคุณได้อ่านบทความนี้ แล้ว คงจะตอบตัวเองได้ว่าจะเลือกทางนี้หรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม