Click Like ถ้าชอบบล๊อกไซต์นี้

Click Like ถ้าชอบบล๊อกไซต์นี้

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สารพันคำถามเรื่องการอุ้มบุญ

การอุ้มบุญ หนึ่งในเทคโนโลยีช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่ยังมีข้อกังขากันอยู่ในสังคม อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ได้ช่วยให้คู่สมรสจำนวนไม่น้อยได้รับการเติมเต็มความหมายของครอบครัวให้สมบูรณ์ขึ้นด้วยสมาชิกตัวน้อยๆ ได้เป็นผลสำเร็จ...

การอุ้มบุญ เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่แพร่หลายในปัจจุบันหรือไม่?


จากรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า มีการทำเด็กหลอดแก้วประมาณ 1.1 - 1.2 แสนรายต่อปี และประมาณ 72 รายใช้วิธีอุ้มบุญ ดูจากตัวเลขอาจน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากศูนย์การรักษาบางแห่งอาจไม่ได้มีการรายงาน ประกอบกับบางรัฐการอุ้มบุญยังถือเป็นข้อห้าม สำหรับในบางประเทศก็มีกฎหมายเข้ามารองรับแล้ว แต่ในบางประเทศยังถือเป็นข้อห้ามอยู่ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการอุ้มบุญเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น

ใครบ้างเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีอุ้มบุญ?

ในกรณีของสตรีที่มีปัญหามดลูกผิดปกติไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน หรือมีปัญหาของมดลูกที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ไม่มีมดลูก อาจเพราะความพิการแต่กำเนิด หรือเคยตัดมดลูกมาก่อนแต่ว่ายังมีรังไข่ หรือในหญิงที่เคยตั้งครรภ์แล้วมีการแท้งหลายครั้งไม่สามารถตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดได้ การอุ้มบุญนับเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง ส่วนกรณีที่คุณแม่มีปัญหาด้านอื่นที่ไม่ใช่ปัญหาเรื่องของมดลูก จำเป็นต้องมีการตรวจหาสาเหตุเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ตรงกับปัญหาที่พบต่อไป

การทำเด็กหลอดแก้ว กับ การอุ้มบุญ แตกต่างกันอย่างไร?

โดยปกติการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ แต่บางกรณีกระบวนการนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ การทำเด็กหลอดแก้ว จึงเป็นการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นนอกร่างกาย โดยจะทำการเก็บไข่และน้ำเชื้ออสุจิออกมาผสมกัน เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเกิดการปฏิสนธิและพัฒนาเป็นตัวอ่อน ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกของมารดาต่อไป วิธีอุ้มบุญเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว เพราะฉะนั้นการอุ้มบุญกับการทำเด็กหลอดแก้วมีวิธีการเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนไปฝากในโพรงมดลูกของคุณแม่อีกท่านหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณแม่ทางพันธุกรรม หรือคุณแม่เจ้าของไข่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เองด้วยข้อบ่งชี้ต่างๆ

ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการอุ้มบุญจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?


ส่วนของคุณแม่อุ้มบุญ จะมีการให้ฮอร์โมนเพื่อเตรียมผนังมดลูกและเพิ่มความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกจนถึงขนาดที่เหมาะสม จากนั้นจะให้ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายมีสภาวะคล้ายกับผู้ที่มีการตกไข่ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งระยะเวลาการเตรียมผนังมดลูกจนเหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

ส่วนคุณแม่เจ้าของไข่ หรือคุณแม่ทางพันธุกรรม จะต้องเตรียมการกระตุ้นรังไข่ เจาะเก็บไข่ เพื่อนำไปผสมกับน้ำเชื้ออสุจิ และทำการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ก่อนจะนำตัวอ่อนที่ได้มาฝังในโพรงมดลูกของคุณแม่อุ้มบุญที่เตรียมความพร้อมแล้ว ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เท่าๆ กัน ...
http://www.thairath.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม