พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ผาน้ำย้อย
ผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลและซึมตลอดปีอยู่บนภูเขาเขียว แบ่งพรมแดนระหว่างอำเภอหนองสูง
จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 20,000ไร่ เป็นป่าไม้เนื้อแข็ง
นานาชนิด มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น หมูป่า เก้ง กวาง ไก่ป่า ผาน้ำย้อยอยู่สูงจากระดับพื้นดิน
200 เมตร และสูงกว่าระดับน้ำทะเล 380-500 เมตร บนเขาลูกนี้มี วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม
มีเนื้อที่ 2,500ไร่ โดยมีพระอาจารย์ศรี มหาวิโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัต
เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
ภายในบริเวณมี พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย ออกแบบโดย
กรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็ก
ทั้ง 8 ทิศ มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง101เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่
เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และได้ตกแต่งลวดลายงามวิจิตรของศิลปะยุคใหม่และยุคเก่า
ผสมเป็นศิลปะร่วมสมัยที่หาดูได้ยาก พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนี้ตั้งอยู่ในบริเวณ
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ภายในพระมหาเจดีย์มีทั้งหมด 6 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่โออ่า ใช้เป็นห้องเอนกประสงค์ และประชุมบำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นศาลาประชุมสงฆ์ ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นอุโบสถ และประดิษฐานรูปพระคณาจารย์ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน
และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 เป็นชั้นชมวิว ชมทัศนียภาพรอบภูเขาเขียว
ชั้นที่ 5 เป็นชั้นพิพิธภัณฑ์
ชั้นที่ 6 เป็นชั้นสูงสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-17.00 น.
การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอหนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร จากตัวเมืองร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136
พระธาตุพนม
พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูง ภายในวัดพระธาตุพนม
มีหอนอน บ่อน้ำพระอินทร์ สระสถูปอัฐิพระธาตุ
จากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่า พระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200-1400 ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาเดียวกัน กับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมาในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ขึ้นเป็น "วรมหาวิหาร"
ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น
โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม ปัจจุบันองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระธาตุนาดูน
พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
วัดพระธาตุมหาชัย ประดิษฐานอยู่บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กิโลเมตร ทางเข้าวัดเป็นถนนคอนกรีต องค์พระธาตุสูง 37 เมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สายวิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป
พระธาตุท่าอุเทน
พระธาตุท่าอุเทน ตั้งอยู่ภายในวัดท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ใกล้กับที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ 2 สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ 3 คือเจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2454 พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับเทพประจำวันศุกร์และเชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ
วัดถ้ำกลองเพล
วัดถ้ำกลองเพล เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดิน แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่พ.ศ.ใด ต่อมาเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2501 พระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3-4 ก้อน มีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมจนกระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2526
ภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้ ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงาม นอกจากนี้ภายในห้องโถงใหญ่ (พระอุโบสถ) ยังประดิษฐานรูปปั้นของหลวงปู่ขาว และกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองเพล” ตามซอกหินมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน และด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐานพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ มีถนนลาดยางลัดเลาะไปตามแนวป่า และหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว
วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)
ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง ภูทอกมี 2 ลูกคือ ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวนกุลเชษโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ การขึ้นภูทอกนั้นเริ่มก่อสร้างบันไดไม้สำหรับไต่ขึ้นไปในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็ม
วัดหินหมากเป้ง
วัดหินหมากเป้ง ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท โดยหลวงปู่์เทสก์ เทสรังสี ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย บริเวณโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ ร่มรื่นด้วยไม้นานาพันธ์ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขง ทัศนียภาพสวยงาม ได้รับการจัดตั้งให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. 2523
หินหมากเป้ง เป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า คนพื้นนี้เขาเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย คำว่าหมากเป้งเป็นภาษาภาคนี้ ผลไม้หรืออะไรก็ตาม ถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียกหมากขึ้นหน้า
วัดป่าสุทธาวาส
วัดป่าสุทธาวาสเป็นสถานที่ในการละสังขารของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ภายในอาคารจึงมีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น และการจำลองรูปเหมือนโดยสร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้งในท่าขัดสมาธิขึ้น รวมทั้งมีการใช้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร อาคารนี้ก่อสร้างโดยสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย และดูใกล้ชิดกับธรรมชาติ อันเป็นการสะท้อนถึงการใช้ชีวิตของท่านตลอดทั้งชีวิตการอุปสมบท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น