10 คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับการ 'อุ้มบุญ'/รพ.เวชธานี
|
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 24 พฤศจิกายน 2552 12:28 น. |
|
การอุ้มบุญ หนึ่งในเทคโนโลยีช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากสำหรับคู่สมร สที่มีปัญหาในการตั้ง ครรภ์ ถึงแม้ว่าวิธีอุ้มบุญจะยังเป็นที่ถกเถียงหรือยังมีข้ อกังขากันอยู่ในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิธีนี้ได้ช่วยให้หลายๆ ชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาและทำให้หลายครอบครัวประสบความส ำเร็จในการมีบุตรมาไม่ น้อยเช่นกัน
*** 10 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการ "อุ้มบุญ"
1. การอุ้มบุญ เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่แพร่หลายในปัจจุบันหรื อไม่?
จากรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า มีการทำเด็กหลอดแก้วประมาณ 1.1 - 1.2 แสนรายต่อปี และประมาณ 72 รายใช้วิธีอุ้มบุญ ดูจากตัวเลขอาจน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากศูนย์การรักษาบางแห่งอาจไม่ได้มีการรายงาน ประกอบกับบางรัฐการอุ้มบุญยังถือเป็นข้อห้าม สำหรับในบางประเทศก็มีกฎหมายเข้ามารองรับแล้ว แต่ในบางประเทศยังถือเป็นข้อห้ามอยู่ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการอุ้มบุญเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรั บผู้ที่มีข้อบ่งชี้เท่า นั้น
2. ใครบ้างเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีอุ้มบุญ?
ในกรณีของสตรีที่มีปัญหามดลูกผิดปกติไม่เหมาะกับการฝ ังตัวของตัวอ่อน หรือมีปัญหาของมดลูกที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ไม่มีมดลูก อาจเพราะความพิการแต่กำเนิด หรือเคยตัดมดลูกมาก่อนแต่ว่ายังมีรังไข่ หรือในหญิงที่เคยตั้งครรภ์แล้วมีการแท้งหลายครั้งไม่ สามารถตั้งครรภ์จน กระทั่งคลอดได้ การอุ้มบุญนับเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง ส่วนกรณีที่คุณแม่มีปัญหาด้านอื่นที่ไม่ใช่ปัญหาเรื่ องของมดลูก จำเป็นต้องมีการตรวจหาสาเหตุเพื่อเลือกวิธีการรักษาท ี่ตรงกับปัญหาที่พบต่อ ไป
3. การทำเด็กหลอดแก้ว กับ การอุ้มบุญ แตกต่างกันอย่างไร?
โดยปกติการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ แต่บางกรณีกระบวนการนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมช าติ การทำเด็กหลอดแก้ว จึงเป็นการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิขึ้นนอกร่างกาย โดยจะทำการเก็บไข่และน้ำเชื้ออสุจิออกมาผสมกัน เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเกิดการปฏิสนธิและพัฒนา เป็นตัวอ่อน ก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกของ มารดาต่อไป
วิธีอุ้มบุญเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะมีบุตรยากด้ วยกระบวนการทำ เด็กหลอดแก้ว เพราะฉะนั้นการอุ้มบุญกับการทำเด็กหลอดแก้วมีวิธีการ เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนไปฝากในโพรงม ดลูกของคุณแม่อีกท่าน หนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณแม่ทางพันธุกรรม หรือคุณแม่เจ้าของไข่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เองด้วยข้ อบ่งชี้ต่างๆ
4. ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการอุ้มบุญ จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
ส่วนของคุณแม่อุ้มบุญ จะมีการให้ฮอร์โมนเพื่อเตรียมผนังมดลูกและเพิ่มความห นาของเยื่อบุโพรงมดลูก จนถึงขนาดที่เหมาะสม จากนั้นจะให้ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ร่างกายมีสภ าวะคล้ายกับผู้ที่มีการ ตกไข่ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งระยะเวลาการเตรียมผนังมดลูกจนเหมาะสมต่อการฝังตั วของตัวอ่อนจะใช้เวลา ประมาณ 2 สัปดาห์
ส่วนคุณแม่เจ้าของไข่ หรือคุณแม่ทางพันธุกรรม จะต้องเตรียมการกระตุ้นรังไข่ เจาะเก็บไข่ เพื่อนำไปผสมกับน้ำเชื้ออสุจิ และทำการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ก่อนจะนำตัวอ่อนที่ได้มาฝังในโพรงมดลูกของคุณแม่อุ้ม บุญที่เตรียมความพร้อม แล้ว ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เท่าๆ กัน
| 5. คุณแม่อุ้มบุญจะต้องมีการดูแลแตกต่างจากการตั้งครรภ์ ตามธรรมชาติอย่างไร?
หลังจากย้ายตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกแล้ว คุณแม่อุ้มบุญจะต้องรับประทานยาตั้งแต่ก่อนเริ่มฝังต ัวอ่อนพร้อมกับสอดยาที่ ช่องคลอดต่อเนื่องนาน 3 เดือน จนกระทั่งรกของคุณแม่อุ้มบุญสามารถผลิตฮอร์โมนได้ดีเ พียงพอ โดยแพทย์จะพิจารณาให้หยุดยาได้ หลังจากนั้นก็ให้การดูแลรักษาเหมือนกับการตั้งครรภ์ต ามปกติ
6. พันธุกรรมของคุณแม่อุ้มบุญจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์หรือ ไม่?
ลักษณะทางพันธุกรรมของเด็กครึ่งหนึ่งจะได้จากพ่อ อีกครึ่งหนึ่งจะได้จากแม่ นั่นคือครึ่งหนึ่งมาจากตัวอสุจิ อีกครึ่งหนึ่งมาจากไข่ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการปฏิสนธิจนกระทั่งมีการแบ่งเ ซลล์เป็นตัวอ่อน ถือว่าจบกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบการอุ้มบุญก็เป็นเพียงการอาศัยมดล ูกของคุณแม่อุ้มบุญ เพื่อให้เด็กในครรภ์มีบ้านให้อาศัยเจริญเติบโตเท่านั ้นเอง ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรมของเด็กจะต้องเหมือนเจ้าขอ งไข่และอสุจิเท่านั้น จะไม่ได้รับพันธุกรรมของคนที่อุ้มบุญ
7. ภาวะอารมณ์ของคุณแม่อุ้มบุญมีผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ ์ของเด็กหรือไม่?
โดยทั่วไปหญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ถือว่ามีภาวะเค รียดอยู่แล้ว ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากฮอร์โมนภายในร่างกายเอง แต่ในกรณีที่คุณแม่อุ้มบุญไม่ได้เตรียมจิตใจให้พร้อม อาจมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ก็อาจส่งผลไปสู่เด็กได้ เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์เวลาที่โกรธหรือเครียด ฮอร์โมนบางตัวจะหลั่งมากกว่าปกติ ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ได้เช่นก ัน
8. อะไรบ้างที่สามารถถ่ายทอดจากคุณแม่อุ้มบุญไปสู่ทารกใ นครรภ์ได้?
กรณีที่คุณแม่อุ้มบุญมีโรคติดต่อบางอย่างซึ่งเป็นโรค ประจำตัว หากนำตัวอ่อนไปฝากไว้ทารกก็จะมีโอกาสติดเชื้อจากคุณแ ม่อุ้มบุญผ่านทางรกได้ เพราะฉะนั้นก่อนให้การรักษาจึงต้องมีการตรวจสุขภาพคุ ณแม่อุ้มบุญอย่าง ละเอียด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากคุณแม่อ ุ้มบุญสู่ทารกในครรภ์ ได้
9. การอุ้มบุญ ในประเทศไทยมีกฎหมายรองรับหรือไม่?
ปัจจุบันคณะกรรมการแพทยสภากำลังพิจารณากฎหมายเกี่ยวก ับเรื่องนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน คุณแม่อุ้มบุญคือคุณแม่ตัวจริงตามกฎหมาย แต่ในอนาคตถ้ากฎหมายครอบคลุมถึงการอุ้มบุญ ก็อาจจะทำให้คุณแม่ที่เป็นเจ้าของไข่มีโอกาสได้รับสิ ทธิ์เป็นคุณแม่ที่แท้ จริง แต่ในปัจจุบันมักจะเป็นการตกลงกันระหว่างคุณแม่อุ้มบ ุญและคุณแม่ที่แท้จริง ซึ่งส่วนใหญ่คุณแม่อุ้มบุญมักจะเป็นคนสนิทหรือเป็นญา ติที่สามารถไว้วางใจ ซึ่งกันและกันได้มากกว่า
10. การอุ้มบุญ เป็นทางออกที่ดีที่สุดของผู้มีบุตรยากอย่างนั้นหรือ?
คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากโดยการทำเด็กหลอดแก้วหรือการอุ ้มบุญจะประสบความสำเร็จ แน่นอน แต่ความจริงคือมีโอกาสแท้งได้เหมือนกับการตั้งครรภ์ท ั่วๆ ไป การอุ้มบุญจะมีความเสี่ยงต่อการแท้งต่ำกว่าเฉพาะในกร ณีที่คุณแม่ที่แท้จริง มีปัญหามดลูกไม่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์เท่านั้น เนื่องจากสาเหตุของการแท้งมีหลายปัจจัย การตั้งครรภ์ของแม่อุ้มบุญจึงยังสามารถเกิดการแท้งได ้ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสม ฮอร์โมนผิดปกติ และปัจจัยเกี่ยวกับโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้มีโอก าสแท้งสูงขึ้น เช่น โรค SLE (หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง) เป็นต้น
สำหรับ ผู้ที่อยากเป็นคุณพ่อคุณแม่และมีปัญหาในการมีบุตร ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ก็ตาม การเข้ามารับคำปรึกษา เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุ เป็นสิ่งที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป ผู้เชี่ยวชาญจะมีคำแนะนำที่เหมาะสมให้กับแต่ละคู่
เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหามีบุตรยากไม่ได้ยากอย่างที่ เราคิด เพียงแต่บางครั้งเราอาจจะไม่ได้มารับคำปรึกษาจากผู้เ ชี่ยวชาญทำให้ยังไม่มี ข้อมูลเพียงพอสำหรับการพิจารณาว่าจะทำการรักษาอย่างไ รต่อไป สอบถามเพิ่มเติมที่ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โทร. 0-2734-0000 ต่อ 3245, 4600, 4605
|
|
|
บทความที่ได้รับความนิยม
-
เด็กหลอดแก้ว IVF & ET เด็กหลอดแก้ว IVF & ET เด็กหลอดแก้ว เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยการนำไข่และอสุจิมาผสมกันภายนอก ( ในจาน...
-
สนทนาธรรม : ชีวิต จริยธรรม กับการวิจัยทางการแพทย์ วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2547 โครงการชีวจริยธรรมกับการวิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่ ...
-
ในบอร์ดนี้มีชายหนุ่มมากมาย และเชื่อว่าคงจะเคยผ่านประสบการณ์เสียวครั้งแรกมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น ผมก็มีประสบการณ์ ( เสียว ) ครั้งแรก มาเล่าให้ฟ...
-
ประสบการณ์ ( เสียว ) ครั้งแรกของ ชายหนุ่ม มาเล่าให้ฟังครับ 8 โพสต์ - 5 ผู้เขียน - โพสต์ครั้งล่าสุด: 15 ม.ค. 2009 ประสบการณ์ ( เสียว ) ครั้ง...
-
การอุ้มบุญ หนึ่งในเทคโนโลยีช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่ยังมีข้อกังขากันอยู่ในสังคม อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ได้ช่วยให้คู่สมรสจำนวนไม่น้อยได้รับการเ...
-
การอุ้มบุญ (Surrogacy) การอุ้มบุญ คือ การเลียนแบบแม่กา ฟักไข่ให้นกกาเหว่า เพราะบุตรในครรภ์ของเธอนั้น ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของเธอ ไม่ใช่ไข่...
-
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ผาน้ำย้อย ผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลและซึมตลอดปีอยู่ บนภูเขาเขียว แบ่งพรมแดนระหว่างอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และ...
-
'อุ้มบุญไทยๆ' ไม่ใช่แค่ให้เช่ามดลูก โดย : นิภาพร ทับหุ่น ภาพประกอบข่าว 15 Share TOOLS คัดลอก URL นี้เเบบย่อ help คัดลอก ขนาดตัวอั...
-
พระราชวังไดนอย นครเว้ เว้ (Hue)เป็นเมืองเอกของจังหวั ดถัวเทียน-เว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และเคยเป็นเมืองหลวง ในสมัยราชวงศ์เหงียนช่วงปี...
-
สพม 40 เพชรบูรณ์ รับสมัคร ครูผู้ช่วย ที่เป็นอัตราจ้าง พนักงานราชการ ... สพม 40 เพชรบูรณ์ รับสมัคร ครูผู้ช่วย ที่เป็นอัตราจ้าง พนักงานราชการ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น